หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สมุนไพร 3 มะ ชื่อที่หลายคนไม่รู้จัก Unbeknown herbs



          ปัจจุบัน กระแสเรื่องการใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษาอาการเจ็บไข้กำลังเป็นที่ กล่าวขานในกลุ่มคนรักสุขภาพ  เนื่องจากสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกันและที่สำคัญบางชนิด สามารถหาซื้อได้ง่าย  ราคาไม่แพง  เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใดหนำซ้ำยังช่วยให้สุขภาพ ดีขึ้นเรื่อยๆ  แต่ปัจจุบันสมุนไพรบางชนิดที่มีสรรพคุณทางยาค่อนข้างดีและส่วนมากเป็นพืชใน ท้องถิ่นกำลังจะเลือนหายไป  เนื่องจากผลมีรูปร่างแปลก  ชื่อก็เรียกยาก  ไม่ค่อยคุ้นหูกันสักเท่าไหร่  ด้วยเหตุนี้เราจึงขอแนะนำสมุนไพรไทยที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย “มะ….” ทั้ง 3 ชนิด  ที่มีชื่อแปลกแต่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณที่โดดเด่น  อันได้แก่  มะเกลือ  มะตาด  และมะแข่น 



มะเกลือ
มะเกลือ (Ebony Tree)
    มะเกลือ มี ชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปแต่ละพื้นที่  อาทิ  มะเกีย  เกลือ  หมักเกลือ  เป็นต้น  มะเกลือเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่  ใบเป็นรูปไข่  ปลายใบแหลม  ออกดอกเป็นช่อสีเหลืออมเขียว  ผลค่อนข้างกลมมีสีเขียวแต่เมื่อแก่จะเป็นสีดำ  ยางของผลมะเกลือจะนิยมนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า  ผลมะเกลือมีฤทธิ์ใช้ขับถ่ายพยาธิ  โดยผลดิบสดจะใช้ได้ดีกับพยาธิปากขอและพยาธิเส้นด้าย  โดยใช้ผลสีเขียวแก่ไม่ช้ำไม่ดำจำนวนไม่เกิน 25 ผล  นำมาโขลกพอแหลกผสมกับหัวกะทิคั้นสด  ดื่มก่อนรับประทานอาหารเช้า  ถ้าครบ 3  ช.ม. ยังไม่ถ่ายให้ใช้ยาระบายช่วยอีกแรง  แต่สำหรับในเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปีและสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ยานี้โดยเด็ดขาด  



มะตาด
มะตาด (Elephant  Apple)
    มะตาด หรือ ที่รู้จักกันในชื่อท้องถิ่นว่า แอปเปิ้ลน้ำ  แอปเปิ้ลช้าง  เป็นไม้ที่พบมากในแถบภาคใต้ของประเทศไทย  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่  เป็นไม้พลัดใบ  มีผลคล้ายๆกับแอปเปิ้ลกึ่งฟักทอง    ซึ่งจากการวิจัยหารสาระสำคัญทางเภสัชวิทยาพบว่าผลมะตาดที่แก้จัดมีรสเปรี้ยว นั้นจะพบสารในกลุ่มของ anthraquinone,betulin  เป็นต้น  มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย  รักษาอาการหวัด  เป็นยาระบายอ่อนๆ  แก้อาการปวดท้อง  ส่วนผลสุกจะมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยวใช้รักษาอาการไอ  ขับเสมหะ  ใบและเปลือกตามลำต้นจะมีรสฝาดสามารถนำมาต้มและใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้



มะแข่น
มะแข่น
    มะแข่น หรือ มะแขว่น  จัดเป็นพืชเศรษฐกิจพื้นเมืองของชาวเหนือ  โดยเฉพาะจังหวัดน่าน    ซึ่งการใช้ประโยชน์จากมะแข่นจะอยู่ในรูปของเครื่องเทศ  แต่งกลิ่นอาหาร  เช่น  ลาบ  ก้อย  และแกงพื้นบ้านเกือบทุกประเภท  ใบอ่อนสามารถรับประทานสดได้  ในเรื่องของสรรพคุณทางยานั้นผลใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ  บำรุงโลหิต  บำรุงธาตุ   ช่วยเจริญอาหาร  แก้อาการวิงเวียนศีรษะ    บางคนก็บอกว่ามีกลิ่นหอมแต่สำหรับคนที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนจะต้องพูดเป็น เสียงเดียวกันว่า ฉุนบ้าง  เหม็นบ้าง  แต่สรรพคุณทางยานั้นก็ด้อยไปกว่ากลิ่นที่เผ็ดร้อนเลยที่เดียว
    "คำกล่าวที่หลายคนมักได้ยินกันมานานแสนนานคือ “การไม่มีโรคย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ”  เป็นสิ่งที่หลายคนพึงปรารถนา  แต่ทั้งนี้จะต้องมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์  เลือกรับประทานสิ่งที่เหมาะสมกับร่างกายที่รับได้  ทั้งนี้สมุนไพรก็จัดเป็นตัวเลือกที่ดีอีกแขนงหนึ่ง  ที่หากรับประทานติดต่อกันแล้วจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็น อย่างดี  ลดการเกิดโรคได้เช่นกัน  แต่ทั้งนี้สมุนไพรควรมาจากแหล่งที่สะอาด  ปราศจากการใช้สารเคมี  มีวิธีการเก็บเกี่ยวและช่วงเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม  มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค  แต่สิ่งที่พึงระวังคือในระยะแรกๆควรทดลองรับประทานก่อน  หากไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายแต่อย่างใดให้เดินหน้าบริโภคต่อได้ทันที"

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:เอกสารคำแนะนำสมุนไพรน่ารู้  โดยกลุ่มส่งเสริมการผลิตสมุนไพร  กรมส่งเสริมการเกษตร

ขอขอบคุณภาพจาก : http://th.wikipedia.org 
                                http://www.bloggang.com/
                                http://www.openbase.in.th/node/10065
                                http://www.baanpud.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น